วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

กลุ่มดาวคันชั่ง (Libra)

กลุ่มดาวที่ 7 กลุ่มดาวคันชั่ง (Libra)


ราศี ตุลย์ (ดุลย์)

สัญลักษณ์ คันชั่ง
หลักการสังเกต มีรูปคล้าย สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน อยู่ทาง อยู่ในซีกฟ้าด้านใต้และทิศตะวันตกของกลุ่มดาวแมงป่อง




ประกอบด้วยดาวฤกษ์ริบหรี่จำนวน 6 ดวง เรียงกันเป็นรูปว่าวปักเป้ามีหางงอ ดวงสว่างที่สุดคือ ดวงที่ 1 ซึ่งมีชื่อที่น่าสนใจเป็นภาษาอาหรับว่า ซูเบนเอสซามาลี (Zubeneschamali) แปลว่า ก้ามแมงป่องที่อยู่ทางทิศเหนือ สว่างรองลงมาก็คือ ดวงที่ 2 มีชื่อว่า ซูเบนเอลเกนูบิ (Zubenelgenubi) แปลว่า ก้ามแมงป่องที่อยู่ทางทิศใต้ เป็นดาวคู่ที่เห็นแยกเป็น 2 ดวงได้เมื่อส่องผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตา

เดือนที่เห็น กลุ่มดาวคันชั่งนานตลอดคืนคือเดือนพฤษภาคม โดยอยู่ บนท้องฟ้าประเทศไทยประมาณ 9 ชั่วโมงครึ่ง

                   ในสมัย 2,000 ปีก่อน นักดาราศาสตร์ถือว่า ดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรเข้ามาอยู่ในกลุ่มดาวราศีตุลย์ ในวันที่ 23 กันยายน ซึ่งในวันนี้กลางวันกับกลางคืนเท่ากันพอดี และดวงอาทิตย์ขึ้นที่จุดทิศตะวันออก ตกที่จุดทิศตะวันตก โคจรผ่านกลางท้องฟ้าพอดี กลุ่มดาวนี้จึงแทนความ เสมอภาคแห่งท้องฟ้า ในปัจจุบันนี้ ดวงอาทิตย์จะปรากฏโคจร เข้ามาใน กลุ่มดาวราศีตุลย์ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้เนื่องจากการส่ายของโลก ดังได้ อธิบายไว้แล้ว แต่การเกิดกลางวันกลางคืนเท่ากันก็ยังคงเป็นวันที่ 23 กันยายน ตามเดิม ชาวฮีบรูสมัยโบราณ และพวกอริยกะในมัธยมประเทศ (ตอนกลางของประเทศ อินเดีย) เรียกกลุ่มดาวราศีตุลย์แทนความเสมอภาคแห่งท้องฟ้าหรือสรรค์



ตำนานกรีก

                  คันชั่งเป็นเครื่องมือที่เทพธิดาแห่งความยุติธรรม หรือเทพีแอสเตรียใช้วัดความเที่ยงธรรมในโลกมนุษย์ กลุ่มดาวราศีตุลย์แตกต่างจากดาวในจักรราศีต่างๆ เนื่องจากคันชั่งเป็นของใช้ ไม่มีชีวิต ในขณะที่สัญลักษณ์ของกลุ่มดาวจักรราศีอื่นๆ เป็นสิ่งมีชีวิต อีกทั้งกลุ่มดาวคันชั่งยังเป็นกลุ่มดาวที่ไม่โดดเด่น เนื่องจากไม่สว่างมากนัก


<<กลุ่มดาวหญิงพรหมจารี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น