วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

กลุ่มดาวสิงโต (Leo)

กลุ่มดาวที่ 5 กลุ่มดาวสิงโต (Leo)


ราศี สิงห์
สัญลักษณ์ สิงโต
วิธีสังเกต อยู่ในซีกฟ้าด้านเหนือ เป็นกลุ่มดาวที่คนรู้จักดีที่สุดและสะดุดตาที่สุดอีกกลุ่มหนึ่ง




วันที่เห็น เมื่อเวลา 3 ทุ่ม (21.00 .) ในวันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปีจะอยู่กลางท้องฟ้าตรงศีรษะ และระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม ถึง 17 กันยายน รวม 38 วัน คิดเป็นระยะทางเชิงมุม 34 องศา จะไม่เห็นดาวกลุ่มนี้
ประกอบด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 9 ดวง เรียงเป็นรูปสิงโตหมอบ ระยะจากดวงที่1 ถึงดวงที่ 2 ประมาณ 25 องศา จาก 1 ถึง 8 ประมาณ 15 องศา
            
เป็นกลุ่มดาวที่เก่าแก่ที่สุดตามที่ได้มีการบันทึกมา ดาวกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับ ดวงอาทิตย์อย่างใกล้ชิด นับแต่แรกเกิดระบบสุริยะ ฉะนั้นทางโหราศาสตร์ เขาจึงกำหนดให้ดวงอาทิตย์เป็นเจ้าของราศีสิงห์นี้ กลุ่มดาวสิงโต เป็นกลุ่มดาวที่บอกฤดูกาลได้เมื่อจะเริ่มหน้าร้อนของฝรั่ง คือ ปลายเดือนมิถุนายน กลุ่มดาวสิงโตจะอย่างท้องฟ้าตั้งแต่เริ่มมืด กลุ่มดาวสิงโต ชาวอียิปต์โบราณบูชาดาวกลุ่มนี้เพราะอุทกภัยจากแม่น้ำไนล์ เกิดขึ้นเมื่อ ดวงอาทิตย์เข้ามาอยู่ในกลุ่มดาวราศีนี้ บางท่านจึงสันนิษฐานว่า ตัวสฟิงส์ (Sphing) ของอียิปต์ส่วนหัวคือหญิงพรหมจารี (ราศีกันย์ส่วนตัวคือสิงโต (ราศีสิงห์)





ตำนานกรีก    

              เป็นสิงโตตัวใหญ่ นิสัยดุร้ายชอบกินผู้คนเป็นอาหาร อีกทั้งมีผิวกายแข็งแกร่งฟันแทงไม่เข้า พระราชาจึงสั่งให้เฮอร์คิวลิสมาปราบ ซึ่งเขาได้บีบคอมันจนตาย จากนั้นจึงถลกหนังมาทำเป็นเกราะคุ้มกัน เทพีเฮร่าให้สิงโตตัวนี้ขึ้นไปเป็นหมู่ดาวบนฟากฟ้าเนื่องจากชอบใจที่มันสร้างอุปสรรคให้แก่เฮอร์คิวลิส




นิทาน เรื่อง กลุ่มดาวสิงโต


          สิงโต เป็นราชาหรือเจ้าแห่งสัตว์ป่าของโลก ออกล่าเหยื่อรบกวนชาวบ้าน จึงถูกฆ่าโดยเฮอร์คิวลิส (Hercules) แต่เนื่องจากสิงโตตัวนี้ มีหนังหนาและเหนียว ฟันแทงไม่เข้า จึงถูกเฮอร์คิวลิสฆ่า โดยล็อคคอด้วยมือเปล่า (Headlock) จากนั้นเฮอร์คิวลิสก็ถลกหนัง โดยใช้เล็บของสิงโตเอง จากนั้น ก็เอาหนังมาทำเครื่องแต่งกาย และเกราะ ทำให้เฮอร์คิวลิสดูน่าเกรงขาม จากนั้น Selene เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ได้นำสิงโตขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี โดยที่สิงโตจะวิ่งหนีเฮอร์คิวลิสตลอดเวลา โดยสิงโตจะอยู่สูงสุดบนฟ้า ในขณะ ที่เฮอร์คิวลิสขึ้นทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเฮอร์คิวลิสขึ้นไป สูงสุดสิงโตจะลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก เฮอร์คิวลิสจึงไม่มีทางไล่ สิงโตทัน


<<กลุ่มดาวปู      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น